messager
insert_drive_file เกี่ยวกับหน่วยงาน
แผนที่ตำบลหนองหลวง

ข้อมูลทั่วไปของหน่วยงาน
เกี่ยวกับหน่วยงาน คำขวัญ "นมัสการหลวงปู่พระครูศรี อนุสาวรีย์พ่อกำนันทะนง มั่นคงพระประธานองค์ใหญ่ บุญบั้งไฟยังสืบสาน แนวต้นตาลนับร้อย ทุ่งนาน้อยสนามกลางบ้าน งามตระการทิวทัศน์หนองหลวง ชนทั้งปวงยกให้เสรีไทยทุ่งขามเปี้ย" วิสัยทัศน์ "การคมนาคมสะดวก ก้าวนำด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตดี มีความรู้ทันสมัย ใส่ใจสภาพแวดล้อม" ประวัติตำบลหนองหลวง ปี พุทธศักราช 2445 ทางราชการได้เสนอตั้ง หมู่บ้านขึ้นใหม่ ชื่อว่า“บ้านหนองหลวง” โดยขึ้นกับตำบลค้อใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร คำว่า “หลวง”มีความหมายว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดสร้างขึ้น เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติชาวบ้านจึงถือว่าเป็นของหลวง หรือเป็นสิ่งสาธารณะทั่วไป ต่อมา ในปี พุทธศักราช 2513 อำเภอสว่างแดนดิน ได้เสนอแยกตำบลค้อใต้ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งตำบล เป็น “ตำบลหนองหลวง” อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร และทางราชการได้แต่งตั้งให้ นายสุครีพ (เครือ) ศรีมา เป็นกำนันตำบลหนองหลวงเป็นคนแรกในปีเดียวกัน โดยกำหนดให้บ้านหนองหลวงเดิม เป็นบ้านหนองหลวงหมู่ที่ 1 บ้านโคกดินแดง เป็น หมู่ที่ 2 บ้านหนองหลวงน้อยเป็น หมู่ที่ 3 บ้านหนองผือ เป็น หมู่ที่ 4 บ้านโคกสำราญเป็น หมู่ที่ 5 บ้านชุมชัยเป็น หมู่ที่ 6 บ้านนาอ้อมเป็น หมู่ที่ 7 บ้านโคกน้ำเกลี้ยงเป็น หมู่ที่ 8 การขยายของชุมชนบ้านหนองหลวง หลังจากแยกบ้านหนองหลวงเป็นสองหมู่บ้านแล้วบ้านหนองหลวง ทั้งหมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 3 ก็ได้เลือกตั้งผู้นำผลัดเปลี่ยนกันบริหารบ้านเมืองเรื่อยมา จนมีจำนวนประชากร และบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้น ทางราชการจึงได้เสนอแยกบ้านหนองหลวงน้อย หมู่ที่ 3 เพิ่มเป็นหมู่ที่ 9 แยกบ้านหนองหลวง หมู่ที่ 1 เพิ่มเป็นหมู่ที่ 10 ในปีเดียวกันด้วย บ้านหนองหลวงจึงถูกแยกเป็นสี่หมู่บ้าน แต่การขยายตัวของบ้านเรือนและประชากรของบ้านหนองหลวงน้อยหมู่ที่ 3 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆทางราชการจึงได้เสนอแยกบ้านหนองหลวงน้อย หมู่ที่ 3 เพิ่มเป็นหมู่ที่ 11 บ้านหนองหลวงจึงถูกแยกเป็นอีกห้าหมู่บ้านด้วยจำนวนผู้คนที่ต้องการเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านหนองหลวงยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยมาด้วยทำเลที่ตั้งภูมิประเทศ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนอุปนิสัยอันดีงามของชาวบ้านหนองหลวง ทำให้ความต้องการเข้ามาตั้งบ้านเรียนของประชาชนในบ้านหนองหลวง หมูที่ 9 ก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน ทางราชการจึงได้เสนอแยกบ้านหนองหลวงหมู่ที่ 9 เพิ่มเป็นหมู่ที่ 12 อีก ในปี พุทธศักราช 2550 ในปัจจุบัน ตำบลหนองหลวง ห่างจากอำเภอสว่างแดนดิน ไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๓ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสกลนคร ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 94 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๔๖ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๘,๗๕๐ ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านต้ายและถนนนิตโย อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน และตำบลท่าศิลา อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน และตำบลส่องดาว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลค้อใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับ การทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และเป็นที่อยู่อาศัย อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑๗๒ เมตร ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม อุณหภูมิจะร้อนตั้งแต่ 28 – 40 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – ตุลาคม ฝนจะตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน ปริมาณน้ำฝนจะมากหรือน้อยก็จะขึ้นอยู่กับอิทธิพลและผลกระทบจากพายุฝน และพายุดีเปรสชั่นในมหาสมุทรแปซิกฟิคและทะเลจีนใต้ ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 13 องศาเซลเซียส ลักษณะของดิน สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับการทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และเป็นที่อยู่อาศัย
ด้านการเมือง/การปกครอง
เขตการปกครอง ตำบลหนองหลวง ประกอบด้วยหมู่บ้าน 12 หมู่บ้าน มีพื้นที่อยู่ในเขตเทศบาลทั้ง 12 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านหนองหลวง นายธีรพงษ์ แก้วปัดสิน 090-347-4502 2 บ้านโคกดินแดง นายสุนัน รัตนวงศ์ 082-101-8288 (กำนัน) 3 บ้านหนองหลวงน้อย นางประไพศรี บุราณสาร 084-390-8869 4 บ้านหนองผือ นายยนต์ บุญกระจ่าง 096-953-8049 5 บ้านโคกสำราญ นายมนตรี อินทะชัย 084-393-0268 6 บ้านหนองย่างชิ้น นายนิคม ทวีปไธสงค์ 091-6852083 7 บ้านนาอ้อม นายคนอง รัตนวงค์ 086-231-6180 8 บ้านโคกน้ำเกลี้ยง นางสุนิษา ไกรจุมพล 092-823-8371 9 บ้านโคกก่อง นายจิตจำนงค์ ธิโสภา 082-313-5496 10 บ้านหนองหลวงวัฒนา นายสมานชัย แก้วปัดสิน 098-167-8871 11 บ้านหนองเม็ก นายบุญทัน พาชื่นใจ 089-843-1235 12 บ้านไผ่หลวง นายนิรันดร์ วงค์อนุ 084-520-6800
ประชากร
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ครัวเรือน ชาย หญิง รวม หมู่ที่ ๑ บ้านหนองหลวง 220 375 358 733 หมู่ที่ ๒ บ้านโคกดินแดง 263 516 527 1,043 หมู่ที่ ๓ บ้านหนองหลวงน้อย 215 325 314 639 หมู่ที่ ๔ บ้านหนองผือ 104 198 205 403 หมู่ที่ ๕ บ้านโคกสำราญ 257 492 475 967 หมู่ที่ ๖ บ้านหนองย่างชิ้น 171 245 216 461 หมู่ที่ ๗ บ้านนาอ้อม 105 192 171 363 หมู่ที่ ๘ บ้านโคกน้ำเกลี้ยง 146 229 230 459 หมู่ที่ ๙ บ้านโคกก่อง 193 379 380 759 หมู่ที่ ๑๐ บ้านหนองหลวงวัฒนา 227 397 440 837 หมู่ที่ ๑๑ บ้านหนองเม็ก 169 278 364 642 หมู่ที่ ๑๒ บ้านไผ่หลวง 220 381 378 759 รวม 2,290 4,007 4,058 8,065
สภาพทางสังคม
การศึกษา ด้านการศึกษาในเขตเทศบาลตำบลหนองหลวง มีการจัดการด้านการศึกษา โดย มีโรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 4 แห่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลตำบลหนองหลวง จำนวน 2 แห่ง ดังนี้ ตามข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2566 1 โรงเรียนหนองหลวงวิทยานุกูล (ประถมศึกษา) 1 โรงเรียนหนองหลวงศึกษา (มัธยมศึกษา) 2 โรงเรียนบ้านโคกดินแดง 3 โรงเรียนบ้านโคกสำราญ 4 โรงเรียนชุมชัยหนองย่างชิ้น 5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกสำราญ 6 ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดสโมสรประชาสามัคคี สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหลวง หมู่ที่ ๑ บ้านหนองหลวง ตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โทร.042-164109 เตียงคนไข้ 6 เตียง ซึ่งมีบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดังนี้ - นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ จำนวน 1 คน (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) - พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 2 คน - นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 1 คน - เจ้าพนักงานสาธารณสุข จำนวน 2 คน - เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข จำนวน 1 คน - แพทย์แผนไทย จำนวน 1 คน - ผู้ช่วยเหลือคนไข้ จำนวน 4 คน จำนวนผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล - ผู้ป่วยนอก จำนวน 8,160 คน คลินิกเอกชน จำนวน 2 แห่ง การสังคมสงเคราะห์ สำนักงานเทศบาลตำบลหนองหลวง ได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้ (1) รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (2) ประสานการทำบัตรผู้พิการ (3) ดำเนินการโครงการฝึกอบรมทักษะอาชีพให้กับประชาชนทั่วไป (4) ประสานการให้ความช่วยเหลือของจังหวัด อำเภอ หน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุน (5) ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ โดยมีจำนวนผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับเบี้ยยังชีพ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ดังนี้ หมู่บ้าน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ หมู่ที่ 1 บ้านหนองหลวง 144 31 1 หมู่ที่ 2 บ้านโคกดินแดง 143 30 หมู่ที่ 3 บ้านหนองหลวงน้อย 109 19 3 หมู่ที่ 4 บ้านหนองผือ 68 19 หมู่ที่ 5 บ้านโคกสำราญ 148 30 2 หมู่ที่ 6 บ้านหนองย่างชิ้น 60 14 หมู่ที่ 7 บ้านนาอ้อม 43 7 2 หมู่ที่ 8 บ้านโคกน้ำเกลี้ยง 61 16 หมู่ที่ 9 บ้านโคกก่อง 133 19 4 หมู่ที่ 10 บ้านหนองหลวงวัฒนา 181 32 2 หมู่ที่ 11 บ้านหนองเม็ก 109 31 หมู่ที่ 12 บ้านไผ่หลวง 95 19 2 รวม 1036 222 16 นอกเหนือจากหน้าที่ภารกิจงานของเทศบาลตำบลหนองหลวง ภายในตำบลหนองหลวงยังมีฌาปนกิจของตำบลที่ช่วยเหลือครอบครัวของผู้เสียชีวิต
ระบบบริการพื้นฐาน
การคมนาคมขนส่ง (ทางบก ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ ฯลฯ) ถนนทางหลวงชนบท สกลนคร 2021 ถนน บ้านต้าย – ดอนส้มโฮง ระยะทาง 22.52 กิโลเมตร มีสภาพเป็นถนนลาดยาง โดยตัดผ่านพื้นที่ตำบลในหมู่ที่ 1,3,8,9,10 ตามแนวเหนือ-ใต้ เป็นเส้นทางเชื่อมการคมนาคมระหว่างตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน กับอำเภอส่องดาว อำเภอวาริชภูมิ และถนนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมโยธาธิการ ระหว่างบ้านหนองหลวง ถึง บ้านนาทม ตำบลบ้านต้าย ระยะทาง 5.70 กิโลเมตร มีสภาพเป็นถนนลาดยาง จากนั้นภายในตำบลมีถนนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลหนองหลวง ใช้เป็นเส้นทางติดต่อกันภายในหมู่บ้าน ระหว่างหมู่บ้านและระหว่างตำบล สภาพถนนเป็นถนนคอนกรีตและถนนลูกรัง ซึ่งมีข้อมูลระยะทางของถนน ดังนี้ หมู่บ้าน ถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ถนนลูกรัง หมู่ที่ 1 บ้านหนองหลวง 7 - - หมู่ที่ 2 บ้านโคกดินแดง 10 - 7 หมู่ที่ 3 บ้านหนองหลวงน้อย 4 - 1 หมู่ที่ 4 บ้านหนองผือ - - 2 หมู่ที่ 5 บ้านโคกสำราญ 5 - 5 หมู่ที่ 6 บ้านหนองย่างชิ้น 6 - 3 หมู่ที่ 7 บ้านนาอ้อม 4 - - หมู่ที่ 8 บ้านโคกน้ำเกลี้ยง 5 - 1 หมู่ที่ 9 บ้านโคกก่อง 8 - 1 หมู่ที่ 10 บ้านหนองหลวงวัฒนา 12 - - หมู่ที่ 11 บ้านหนองเม็ก 5 - 3 หมู่ที่ 12 บ้านไผ่หลวง 8 5 7 รวม 74 5 30 นอกจากนี้ ในตำบลหนองหลวงยังมีการเดินทาง ทางบก เช่น รถโดยสารประจำทาง รถตู้ร่วมบริการของบริษัทสหมิตร รถยนต์ส่วนตัว ตำบลหนองลวงไม่มี บขส. แต่จะเป็นเส้นทางที่รถประจำทางวิ่งผ่านโดยวิ่งจากขนส่งจังหวัดสกลนคร ผ่านอำเภอสว่างแดนดิน ตำบลหนองหลวง อำเภอไชยวาน อำเภอหนองหาน ปลายทางคืออำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ทางน้ำและทางราง ในตำบลหนองหลวง ไม่มีการเดินทางทางน้ำทางราง ทางอากาศ ประชาชนในตำบลหนองหลวงที่ต้องการเดินทางทางอากาศจะต้องเดินทางไปขึ้นที่สนามบินนานาชาติจังหวัดอุดรธานี การไฟฟ้า ตำบลหนองหลวงมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง โดยที่จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง จำนวน 12 หมู่บ้าน จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,203 ครัวเรือน แต่ในตำบลหนองหลวงมีปัญหา คือ ไฟฟ้าดับบ่อยและไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ ทั้งหมด การประปา ตำบลหนองหลวง มีระบบน้ำประปาใช้โดยแยกเป็นให้เทศบาลตำบลหนองหลวงบริหารจัดการ ได้แก่ หมู่ที่ 1,6,8 และหมู่บ้านบริหารจัดการ เอง ได้แก่ หมู่ที่ 2,3,5,7,9,10 และ 11 หมู่ 12 กำลังดำเนินการสร้างระบบประปา ส่วนหมู่ 4 ยังไม่มีน้ำประปาใช้ ยังคงใช้น้ำบาดาล โทรศัพท์ ปัจจุบันในพื้นที่ตำบลหนองหลวง ไม่มีโทรศัพท์สาธารณะ เนื่องจากประชาชนได้นิยมใช้โทรศัพท์มือถือและโซเชียล ซึ่งสามารถติดต่อ สื่อสารได้รวดเร็ว และสามารถใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ สำหรับสถานที่ราชการ ยังคงใช้ระบบโทรศัพท์พื้นฐานในการติดต่อสื่อสารรวมถึง แอพลิเคชั่น LINE เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อประสานงาน ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ ตำบลหนองหลวง มีบริการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 10 บ้านหนองหลวงวัฒนา ให้บริการ เวลา 08.00 – 16.00 น. ในวันจันทร์ – เสาร์ (วันเสาร์ครึ่งวัน) หยุดวันอาทิตย์ ไม่มีบริการขนส่งเอกชน
ระบบเศรษฐกิจ
การเกษตร ด้านการเกษตรกรรมในท้องถิ่น มีพื้นที่ในการทำการเกษตร 24,724 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 87.36 ของพื้นที่ทั้งหมดในตำบลหนองหลวง ผลผลิตทางการ เกษตรที่สำคัญ ได้แก่ การปลูกข้าว อ้อย มัน ข้าวโพด และพืชผักสวนครัว สามารถแบ่งพื้นที่ใช้สอยทางการเกษตร ได้ดังนี้ 1. ที่ดินทำนา จำนวน 19,991 ไร่ 2. ที่ดินทำไร่ จำนวน 2,428 ไร่ 3. ที่ดินทำสวน จำนวน 1,505 ไร่ 4. ที่ดินเลี้ยงสัตว์ จำนวน 800 ไร่ 5. พื้นที่การใช้น้ำ ใช้น้ำชลประทาน จำนวน 4,970 ไร่ และ อาศัยน้ำฝน จำนวน 23,331 ไร่ การประมง ด้านประมงในตำบลหนองหลวง มีพื้นที่จำนวน 151 ไร่ การปศุสัตว์ ด้านปศุสัตว์ ประชาชนในตำบลหนองหลวง ทำการเลี้ยงสัตว์ แยกได้ดังนี้ โคเนื้อ จำนวน 67 ตัว โคนม จำนวน 2 ตัว กระบือ จำนวน 77 ตัว สุกร จำนวน 77 ตัว ไก่ จำนวน 2,587 ตัว เป็ด จำนวน 428 ตัว การบริการ ปั๊มน้ำมัน ขนาดใหญ่ 1 แห่ง ปั๊มน้ำมันหลอด/ปั้มหยอดเหรียญ 1 แห่ง ร้านค้าเบ็ดเตล็ด 75 แห่ง ร้านรับซ่อมยานยนต์ 15 แห่ง การท่องเที่ยว 1. แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศพัทยา 3 ตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร 2. หลวงปู่มั่นองค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (วัดป่าประชานิยม) 3. เจดีย์พิพิธภัณฑ์ พระครูศรีธรรมวิภาต จันทรังสี (วัดสโมสรประชาสามัคคี) การอุตสาหกรรม ในเขตเทศบาลตำบลหนองหลวง มีจำนวนอุตสาหกรรมหลายประเภท โดยส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมบริการขนาดเล็ก เช่น โรงสี การซ่อม รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ปั๊มน้ำมัน ร้านถ่ายเอกสาร เป็นต้น และอุตสาหกรรมการขายปลีกและส่ง เช่น ร้านค้าโชห่วย โรงขนมจีน โรงน้ำดื่ม เป็นต้น การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ การจดทะเบียนพาณิชย์ ปี 2566 มีผู้ขอจดทะเบียนพาณิชย์ 15 ราย ขอยกเลิก การจดทะเบียนพาณิชย์ - ราย และทะเบียนพาณิชย์ฯ ที่ยังคงดำเนินการอยู่ ณ 1 กรกฎาคม 2566 ตลาดสด จำนวน 1 แห่ง กลุ่มอาชีพ จำนวน 9 กลุ่ม ซึ่งจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน จำนวน 8 กลุ่ม รายละเอียดดังนี้ กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ กลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ กลุ่มแปรรูปน้ำหมักสมุนไพร กลุ่มเย็บผ้าห่มปิกนิก กลุ่มเย็บผ้า กลุ่มประดิษฐ์ตะกร้าจากเส้นพลาสติก กลุ่มทอเสื่อกก กลุ่มเกษตรปลอดภัย (ยังไม่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน) กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ แรงงาน แรงงานในตำบลหนองหลวงโดยส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานภาคการเกษตร โดยเป็นการรับจ้างทั่วไปในภาคการเกษตร และทำงานในบริษัท ประจำอำเภอและต่างประเทศ
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
การนับถือศาสนา ประชาชนตำบลหนองหลวงโดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ วัด 7 แห่ง 1. วัดป่าประชานิยม 2. วัดสโมสรประชาสามัคคี 3. วัดบ้านหนองย่างชิ้น 4. วัดป่าบูรพาราม 5. วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล 6. วัดป่าบ้านโคกน้ำเกลี้ยง 7. วัดบ้านหนองผือ สำนักสงฆ์ (ยังไม่ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นวัด) 1 แห่ง 1. วัดสวนธรรมสุขโต ประเพณีและงานประจำปี ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประมาณเดือน มกราคม ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน งานก่อเจดีย์ทราย ประมาณเดือน เมษายน การแข่งขันเรือยาวพื้นฐาน ประมาณเดือน เมษายน ประเพณีบุญบั้งไฟ ประมาณเดือน พฤษภาคม ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม ตุลาคม ประเพณีบุญเดือนสิบ ประมาณเดือน ตุลาคม ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน พฤศจิกายน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตพื้นที่ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทอเสื่อจากต้นกก ภาษาถิ่น ภาษาไทยกลาง และ ภาษาลาว สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ประชาชนในตำบลหนองหลวง มีสินค้าพื้นเมืองและของฝากจะเป็น เสื่อกก กระเป๋าสาน
ทรัพยากรธรรมชาติ
น้ำ ตำบลหนองหลวงมีหนองน้ำขนาดใหญ่ และลำห้วยหลายสายแต่น้ำจะไหลลงสู่พื้นที่ลุ่มอย่างรวดเร็ว ห้วยหนอง คลอง ส่วนใหญ่ตื้นเขิน ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี ทำให้ขาดแคลนน้ำใช้อุปโภค บริโภค และการเกษตร ในช่วงฤดูแล้ง ทางเทศบาลตำบลหนองหลวง จึงได้มีการพัฒนาแหล่งน้ำ โดยการขุดลอกลำห้วยหลายสาย และก่อสร้างฝายน้ำล้นหลายแห่ง ทั้งนำน้ำใต้ดินมาใช้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน มีแหล่งน้ำ ได้แก่ ห้วยก้านเหลือง ห้วยกุดหัวควาย ห้วยขุมปูน ห้วยบง คลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น ป่าไม้ ตำบลหนองหลวงมีเนื้อที่ป่า 1,143 ไร่ ไม่มีพื้นที่ป่าไม้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพราะพื้นที่โดยส่วนใหญ่เป็นบ้านเรือนประชาชน ภูเขา ตำบลหนองหลวงไม่มีพื้นที่ติดกับภูเขา
อื่นๆ
มวลชนจัดตั้ง ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น จำนวน 323 คน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 2 รุ่น จำนวน 151 คน